อุปสรรคสำคัญของนักบวช |
"อุปสรรคที่สำคัญคือ เรื่องผู้หญิงและเรื่องเงิน เรื่องผู้หญิงนั้น เมื่อเริ่มบวช จะใช้วิธีคิดว่า อดเปรี้ยวไว้กินหวาน เขาบอกว่า เป็นเทวดาเสพกาม ดูตาก็สำเร็จ ไม่ต้องเหน็ดเหนื่อย แสบ เผ็ด ปวด เดือดร้อนหรือเหงื่อไหลไคลย้อย แบบมนุษย์หรือสัตว์เดรัจฉาน บางครั้งก็จะพิจารณาว่า จะไปเป็นเทพหรือพรหมดีกว่า แต่ต่อมาก็เกิดความคิดขึ้นมาว่า คนเราเมื่ออยาก ก็ทำตามความอยาก แต่เมื่อไรที่พอก็หายอยาก ในเมื่อเป็นเช่นนี้แล้วทำไมจะต้องไปตกอยู่ในการไหลวนอยู่อีก ในระยะหลังจึงตั้งใจทำงานให้ดีที่สุดเพียงอย่างเดียว และระวังแต่เพียงว่า
1. เมื่อไปเทศน์จะไม่ให้ผู้หญิงติดตามหรือนั่งรถไปด้วยเป็นอันขาด จะไม่ให้เสียหาย เช่น พระยันตระและพระนิกร
2. ไม่ให้ผู้หญิงมาอยู่ในวัด ไม่ให้มีแม่ชีเลย ไม่ใช่เพราะเกลียดสตรีเพศ แต่ต้องการป้องกันไว้ ถ้าหากมีแม่ชีมาอยู่ปฏิบัติธรรมในระยะเวลาสั้นๆ เช่น 3-7 วัน จะอนุญาตให้อยู่อีกฝั่งหนึ่ง
ส่วนเรื่องเงินบางปีจะไม่รับเลย เช่น ปี พ.ศ.2527 และบางปีรับแต่ไม่นำกลับวัด ได้แก่ปี พ.ศ.2538 เทศน์ที่ไหนจะมอบให้ที่นั่น
(**ระหว่างไม่รับเงินเลย กับการรับเงินมาแต่ไม่ได้เก็บเงินไว้กับตน แล้วมอบให้ผู้อื่นทั้งหมดนั้น การรับเงินแล้วไม่ได้เอาเงินมาเก็บไว้ เป็นสิ่งที่ต่อสู้ยากที่สุดและต้านความอยากยากที่สุด) |
|
ประสบการณ์จากสวนโมกข์ |
"...ในแง่ของการปฏิบัติธรรม ได้ฝึกความอดทน เช่น ในวันวิสาขบูชาและวันมาฆบูชาจะไม่นอน และจะไม่ฉันอาหารในวันคล้ายวันเกิดของท่านเจ้าคุณอาจารย์พุทธทาส จะไปฏิบัติธรรมกันตลอด เมื่อต้องออกไปเทศน์ตามงานศพจะเดินไปตามหมู่บ้านต่างๆ ที่อยู่รอบๆ วัดสวนโมกขพลาราม เช่น หมู่บ้านเสวีดโมโถ่ เป็นต้น
แต่ละหมู่บ้านจะมีการสร้างศาลาไว้เพื่อให้พระมาเทศน์ในงานศพ เมื่อรับกิจนิมนต์ไปเทศน์ ท่านอาจารย์พุทธทาสจะให้รับพร้อมกันหลายงานในหนึ่งวัน แต่ละงานจะจัดเวลาสำหรับการเทศนา ที่รับช่วงถัดกันไป ไม่ให้เวลาซ้ำซ้อนกัน ทำให้มีโอกาสได้ฝึกความอดทนเป็นอย่างมาก เพราะเมื่อไปเทศที่งานศพของหมู่บ้านหนึ่งเสร็จแล้ว ก็ต้องเดินต่อไปอีก 5 กิโลเมตรบ้าง 10 กิลโมเตรบ้าง บางครั้งใช้เวลาเดินนานถึง 2 ชั่วโมง เพื่อไปเทศน์ที่งานศพของหมู่บ้านถัดไป พระที่สวนโมกข์จะเดินวนเวียนไปตามหมู่บ้านที่อยู่รอบๆ วัดสวนโมกข์เช่นนี้กันเป็นประจำ เมื่อได้รับกิจนิมนต์ให้ไปแสดงธรรม
|
|
|
|
|
ในแง่ของการเผยแพร่พระพุทธศาสนา เป็นโอกาสที่ดีที่สุดที่ได้สอนธรรมะให้แก่เด็กนักเรียน และเทศน์ให้ญาติโยมฟัง ได้ประสบการณ์ในการพูดจาให้คนที่ไม่สนใจธรรมะ รู้สึกสนใจที่จะฟัง ต้องหาเทคนิค หาวิธีการตลอด แม้กระทั่งผลิตอุปกรณ์ในการสอน เช่น ทำภาพพระพุทธประวัติ ทำนิทาน ทำสไลด์ เป็นต้น..." |
|
|