ฟังธรรมะออนไลน์

ฟังธรรมะออนไลน์

คณะกรรมการ
มูลนิธิสวนแก้ว


ระเบียบการ
การบรรพชา – อุปสมบท
(บวชพระ - บวชเณร)


เล่าไว้เมื่อวัย73ปี พระราชธรรมนิเทศ

วารสารกัลยาโณ

ปฏิทินธรรม2568




หนังสือโฉนดกล้วยแขก ภาค2 "รู้... เท่าทัน... คำพิพากษ่า Not standrd สุดซอย"

 
อ่านเพิ่มเติมที่นี่







ประยุกต์หลักธรรมในการทำงาน
"...ท่านเจ้าคุณอาจารย์พุทธทาสเคยสอนไว้ว่า "เอาเหงื่อล้างความเห็นแก่ตัว" คนที่ไม่อยากเสียเหงื่อไม่อยากเหนื่อย แสดงว่าเป็นคนเห็นแก่ตัว สิ่งที่สมควรทำที่สุดก็คือ ทำประโยชน์ให้ส่วนรวม ร่างกายก็นับวันจะเหี่ยวไป แก่ไป ถ้าไม่รีบใช้ พออายุ 60 ปี ก็คงจะทำไม่ไหวแน่นอน ในบางครั้งรู้สึกหายใจขัดๆ ก็นึกไปว่าจะตายเร็วหรือเปล่า บางครั้งก็มีอาการวูบวาบๆ อาจจะเป็นเพราะผักและอาหารที่มีสารเคมีปนเปื้อนก็ได้ จึงทำให้รู้สึกว่า สุขภาพไม่ดีเหมือนเมื่อก่อน ยิ่งสุขภาพไม่ดียิ่งอยากจะรีบทำก่อนตาย ที่ปฏิบัติอยู่ก็คือ อะไรที่ทำได้ จะรีบทำ พอตายแล้ว จะทำไม่ได้ สิ่งที่ทำกันอยู่นั้น จะย้อนศรกิเลสได้ไหม จะตลบหลังมันได้ไหม คือทำอะไรที่ไหนก็ตามแล้วปล่อย แล้วสละได้ไหม เช่น วัดที่กบินทร์บุรี เมื่อทำการบุกเบิกและพัฒนาไว้แล้ว หากมีพระรูปใดต้องการที่จะทำสานต่อ จะสนับสนุนและยกให้ โดยไม่ต้องไปรู้สึกเสียดายว่าไปเริ่มต้นไว้แทบตาย จึงคิดว่าถ้ายังเป็นคนมีกิเลส ก็ต้องเสียดายที่ทำไปเหนื่อยแทบตาย เมื่อนึกถึงพระบางรูปเช่นครูบาศรีวิชัย เจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ เมื่อสร้างเสร็จแล้วท่านก็จากไปไม่มีเยื่อใย เหมือนกับน้ำติดใบบอนกลิ้งไปไม่หลุด ไม่ติด ไม่ซึมซาบอะไร

ภายในสวนปลูกกล้วยไว้มาก เมื่อจำเป็นต้องใช้พื้นที่สำหรับโครงการต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ ทำให้ต้องไถกลบต้นกล้วยที่กำลังงามและกำลังออกเครือ ก็คิดไปว่า ถ้าหากเสียดายแสดงว่ายังมีกิเลสเยอะ จึงประยุกต์ว่า ทำ ทำ ทำ อย่าเป็นของเรา ทำทุกวันเต็มที่ ไม่หวัง ไม่มี ไม่เอา ไม่เป็น ทำตั้งแต่เช้าจรดเย็น ทำไม่เป็น ไม่เอา ไม่มี ทำเต็มที่ ซึ่งคิดว่ามีผลในการลดกิเลสเป็นอย่างมาก แต่ไม่ใช่ว่าจะปล่อยอย่างโง่ๆ ให้ใครมาทำพังหมด อะไรก็ตามที่สามารถประคับประคองให้เจริญก้าวหน้าได้ก็จะทำ แต่ถ้าปล่อยได้จะปล่อย เช่น ที่กบินทร์บุรี และจันทบุรีที่ไปพัฒนาไว้ ถ้าสานต่อได้ ทำได้ จะปล่อย ถ้าเขาทำต่อไม่ได้ จะประคองต่อ

เรื่องเงินก็เช่นกัน จำได้ว่าไปเทศน์ที่จังหวัดอุบลราชธานี ญาติโยมนำเงินมาถวายเป็นจำนวนมาก และได้มอบให้กับมูลนิธิ 5 ธันวามหาราช เพื่อที่จะได้นำไปทำประโยชน์ต่อไป บางครั้งก็ช่วยเหลือเด็กบ้าง เคยอธิษฐานใจว่าจะไม่รับปัจจัยที่เป็นเงินเวลา 1 ปี หลังจากอธิษฐานได้ประมาณ 1 เดือน มีโยมคนหนึ่งมาถวาย 2 แสนบาท ต้องสู้กับกิเลสอย่างมาก จะไม่รับ ก็รู้สึกว่าเสียดาย แต่ถ้ารับก็จะเสียสัจจะที่ให้ไว้ ในที่สุดก็ตัดสินใจไม่รับ โยมคนนั้นบอกว่า

"ฉันไม่อยากให้ท่านเสียสัจจะ แล้วฉันก็ไม่อยากเสียศรัทธา ท่านไม่รับกี่ปี"
หลังจากตอบไปว่า 1 ปี โยอมคนนั้นก็นำเงินไปฝากธนาคาร พอพ้นอธิษฐาน โยมได้นำเงินพร้อมดอกเบี้ยเงินฝากมาถวายอีกครั้ง..."
(ถ้าสามารถฝืนใจตนเอง ไม่สนองความอยากของตนเอง เท่ากับเป็นการสวนกระแสของกิเลส เมื่อปฏิบัติเช่นนี้บ่อยๆ เข้า ความโลภหรือโลภะจะลดลง)
 
ใช้ชีวิตตามหลักอริยสัจจ์สี่
"ต้องพิจารณาว่า อะไรเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ ทุกข์เพราะความอยาก อยากยึดสิ่งที่ต้องการไว้เป็นของเรา"
ต้องตั้งใจไว้เลยว่า จะไม่ยึดเป็นของเรา ไม่อยากเป็นของเรา ถ้าอยากให้เป็นของเรา ยึดเป็นของเรา ก็จะทุกข์มาก เมื่อได้มาและคิดว่ามันน่าจะเป็นของเรา เราก็ควรนำไปสงเคราะห์ช่วยเหลือเด็กและคนยากไร้ อีกตัวอย่างหนึ่งที่กระทำกันบ่อยๆ ที่วัดสวนแก้วนี้ก็คือ เมื่อมีโครงการทอดผ้าป่าที่วัด ปัจจัยที่ได้จากการทอดผ้าป่า จะนำไปสงเคราะห์วัดอื่นที่ขาดแคลนเงินุทนสำหรับดำเนินโครงการต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม นอกจากนั้นยังให้การสนับสนุนกลุ่มต่างๆ ที่มุ่งจะทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม ให้มาจัดกิจกรรมที่วัด
ควรทำลายความอยากที่ว่า "นั่นเป็นของเรา ให้มันเป็นของเรา ใครจะมาทำกิจกรรมอะไรก็ตาม ผลประโยชน์ที่ได้ต้องเป็นของเรา" อยากไปเสีย..!

สำหรับฆราวาสนั้น ควรจะพบกันครึ่งทาง คือ เก็บไว้เพียงครึ่งเดียว อย่าเก็บไว้ทั้งหมด อย่าเก็บถึงพันล้านหมื่นล้าน แสนล้านบาท ถ้าเก็บไว้มากก็จะยิ่งทำให้อยากกิน อยากใช้ อยากไปเที่ยวต่างประเทศ และสามีก็อยากนอกใจภรรยา การมีมากเกินไป ไม่ใช่สิ่งที่ดี เพราะมีมาก ก็ยิ่งใช้มาก การกระทำดังกล่าว เท่ากับเป็นการสนองตัณหา กระตุ้นให้เกิดความอยาก อย่างไม่มีที่สิ้นสุด เป็นการใช้ชีวิตตามกระแสของกิเลส เมื่อตายไปแล้วก็ไม่สามารถนำติดตัวไปได้ ยกตัวอย่งเช่น เจ้าสัวทั้งหลายเมื่อตายไป ภรรยาหลวง ภรรยาน้อย รวมทั้งลูกๆ ต่างก็แย่งชิงสมบัติกัน ทะเลาะกันและฆ่ากันเอง บางตระกูลพี่น้องฆ่ากันเอง ถ้าพ่อแม่ไม่หาเอาไว้มากจนเกินไป อาจจะไม่ทะเลาะกันรุนแรงถึงขนาดนั้นก็ได้ ดังนั้นควรนำเงินที่มีบางส่วนไปช่วยเหลือเจือจานสังคมบ้าง

ในทางตรงกันข้าม ถ้ามีน้อย ก็ควรรู้จักคิด รู้จักผลิต เพื่อให้มีมากขึ้น ดีกว่าที่จะนำเงินที่มีน้อยอยู่แล้วไปใช้ในทางที่ไม่เหมาะสม

ถ้ามีเงินแต่เพียงพอดีๆ เช่น ฐานะรวยที่สุด ควรจะเก็บเงินไว้ไม่เกิน 500 ล้านบาท ฐานะลดลงมาอีกระดับหนึ่ง ควรจะเก็บไว้ไม่เกิน 100 ล้านบาท ส่วนฐานะต่ำลงมาอีก ก็ไม่ควรเกิน 10 ล้านบาท หากรู้จักกิน รู้จักใช้ไม่ให้เกินความพอดี วันละ 100 บาท ก็น่าจะเพียงพอ อยู่ได้และอิ่มได้อย่างสบาย ผู้ใดทำประโยชน์ ผู้นั้นจะไม่อด
 
 
  มูลนิธิสวนแก้ว

เลขที่ 55/1 หมู่ 1 ต.บางเลน อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี 11140
55/1 M.1 Bang lane Subdistrict, BangYai District Nonthaburi 11140, Thailand
Tel : (66)02-595-1444, (66)02-595-1946
Fax. (66)02-921-5022
 
 
โอนเงินร่วมบริจาค ชื่อบัญชี
มูลนิธิสวนแก้ว โดยพระราชธรรมนิเทศ
 ธนาคารกสิกรไทย สาขา บางใหญ่ เลขที่บัญชี เลขที่ 269-2-12533-1
Email : bookkan54@gmail.com
©2020 Kanlayano All rights reserved.